ยุทธศาสตร์การเกษตรสภาเกษตรกรจังหวัดน่าน
วิสัยทัศน์ (Vision)
“ เกษตรกรน่านมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามวิถีพอเพียงสู่ความยั่งยืน”
พันธกิจ (Mission)
- พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
- สร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการอาชีพเกษตรกรรมโดยเชื่อมโยงกับภาครัฐผู้ประกอบการเอกชนทุกระดับ เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้ได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด
- บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมจากล่างสู่บน
- จัดระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริงและทันเวลา เพื่อประกอบการตัดสินใจของเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและใช้กำหนดนโยบายของรัฐ
- ส่งเสริมและสนับสนุนค้นคว้า วิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา พันธุกรรมพืชและสัตว์ท้องถิ่น ประมง นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม และเกษตรกรรมอื่นๆ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้า วิจัยพัฒนา รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์
- สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อสภาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
- จัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อประกอบการตัดสินใจ
- บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมระดับชาติจากล่างสู่บน
- สร้างความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อสภาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : สภาเกษตรกรจังหวัดมีความเข้มแข็งมีเครือข่ายเชื่อมโยงในทุกระดับ
ตัวชี้วัด
1.จำนวนเครือข่ายสภาเกษตรกรได้รับการจัดตั้ง
2.ร้อยละของปัญหาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการแก้ไข
3.จำนวนสมาชิกสภาเกษตรกรและผู้แทนกรรมการ พนักงาน องค์กรเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้
4.จำนวนบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ 1 : สร้างเครือข่ายสภาเกษตรกร
กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาบุคลากรและระบบงานสภาเกษตรกรจังหวัด
กลยุทธ์ที่ 3 : จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรและพัฒนาเกษตรกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : จัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อประกอบการตัดสินใจ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : เป็นองค์กรที่มีข้อมูลด้านการเกษตรเพียงพอประกอบการตัดสินใจของเกษตรกร
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของจำนวนข้อมูลที่จัดเก็บได้สมบูรณ์ตามเป้าหมาย
2. ร้อยละของความถูกต้องและเป็นปัจจุบันของข้อมูล
3. ร้อยละของข้อมูลที่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
กลยุทธ์ที่ 1: จัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตร
กลยุทธ์ที่ 2 : ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่เกษตรกร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมระดับชาติจากล่างสู่บน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : มีแผนพัฒนาเกษตรกรรมที่บูรณาการจากระดับล่างสู่บน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
ตัวชี้วัด
1. จำนวนเกษตรกรมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
2. ร้อยละของงาน/โครงการ ตามแผนแม่บทถูกนำไปปฏิบัติ
กลยุทธ์ที่ 1 : การจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : เกษตรกร องค์กรเกษตรกรได้รับการส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด และการจัดการองค์กร
ตัวชี้วัด
1. จำนวนข้อตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรที่สภาเกษตรกรจังหวัดเข้าร่วมเจรจาต่อรองหรือติดตามผลการปฏิบัติตามข้อตกลง
2.ร้อยละของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ผ่านการอบรมฝึกปฏิบัติจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แล้วสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในการประกอบอาชีพเกษตรของตน
3.ได้รูปแบบสวัสดิการที่เหมาะสมแก่เกษตรกร
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ
กลยุทธ์ที่ 2 : สร้างอำนาจต่อรองให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนสูงสุด
กลยุทธ์ที่ 3 : สร้างการเรียนรู้และพัฒนาการเกษตร
กลยุทธ์ที่ 4 : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการปรับตัวและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
กลยุทธ์ที่ 5 : สร้างสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของเกษตรกร